งานบทเรียนที่ 3

1. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
      โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
       แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1. โครงสร้างเชิงกายภาพ (Physical Data Structure)
            อธิบายวิธีการจัดเก็บข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กและดิสก์
        2. โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logic Data Structure)
             อธิบายการจัดเก็บข้อมูลและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูลในระบบฐานข้อมูล แสดงให้เห็นถึงการจัดระเบียบการทำงานและการมีปฎิสัมพันธ์ภายในระบบฐานข้อมูลโดยมีลำดับขั้นจากหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดไปยังฐานข้อมูล
โครงสร้างข้อมูล.(Data Structure)
ในการนำข้อมูลไปใช้นั้น เรามีระดับโครงสร้างของข้อมูลดังนี้
 
                    - บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้ งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
                    - ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
                    - ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว(ID) ชื่อพนักงาน(name) เป็นต้น
                    - เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด
                    - ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น
                    - ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกัน เป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น
หน่วยในการวัดขนาดของข้อมูล
8 Bit = 1 Byte
1,024 Byte = 1 KB (กิโลไบต์)
1,024 KB = 1 MB (เมกกะไบต์)
1,024 MB = 1 GB (กิกะไบต์)
1,024 GB = 1TB (เทระไบต์)
******************************************
2. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
                2.1 การประมวลผลแบบแบตซ์  (Batch  Processing)   คือการประมวลผลข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นชุดข้อมูล  แล้วจึงนำส่งข้อมูลเหล่านั้นไปทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมกันทั้งหมด  ทีเดียวซึ่งระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เพื่อรอการประมวลผล  อาจจะเป็นรายวัน  รายสัปดาห์   รายเดือน  หรือรายปี  เป็นต้น  เช่นการประมวลผลการเสียภาษีประจำปี   การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร
2.2 การประมวลผลแบบเรียลไทม์  (Real - Time Processing)  คือ  การประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ  บางทีอาจจะเรียกว่า  การประมวลผลแบบ  Transaction  Processing   เช่น  ระบบเงินฝาก  -  ถอนเงินด้วย  ATM  ของธนาคาร  ระบบสำรองที่นั่งในเครื่องบิน  ระบบการตัดยอดสินค้าคงคลังทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า  เป็นต้น
การประมวลผลข้อมูลทั้งสองวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีหรือสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นกลุ่มก่อนแล้วจึงทำการประมวลผลพร้อมกันทีเดียว  เช่น  การประมวลผลการเสียภาษี  จะทำการประมวลผล  1  ปีต่อครั้ง  เนื่องจากการคิดภาษีเป็นการคิดจากรายได้ตลอดปี  แต่การตัดยอดบัญชีเงินฝากของลูกค้าจำเป็นที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการฝากหรือถอนเงิน ทั้งนี้เพื่อทราบยอดคงเหลือที่ลูกค้ามีอยู่    ปัจจุบันเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น