งานบทเรียนที่ 4

1.สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
     สื่อกลาง ( Media ) หมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารจากฝั่งผู้ส่งไปยังผู้รับ
    ประเภทของสื่อนำสัญญาณ สื่อที่ใช้ส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายในปัจจุบัน สามารถแบ่งสื่อกลางได้เป็น 2 ประเภท คือ
 
    1. สื่อกลางประเภทเหนี่ยวนำ (Guided media) หรือ ระบบใช้สาย (Wired System )
          เป็นระบบที่รวมสื่อกลางที่เป็นสายทั้งหมด ใช้ได้ทั้งระยะใกล้หรือไกล สายสัญญาณที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สายเกลียวคู่ สายโคแอกเซียล และ สายใยแก้วนำแสง
           1.1  สายคู่พันเกลียว หรือสายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable)
                    เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดบาง (1 มิลลิเมตร) ที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว ทำให้สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ เป็นสายที่ใช้เดินในผนังเพื่อเชื่อมต่อโทรศัพท์เข้าไปยังชุมสายโทรศัพท์ต่าง ๆ ที่ให้บริการระบบโทรศัพท์ เช่น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เทเลคอมเอเชีย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ตามปกติสายเคเบิลประเภทนี้ มักจะถูกนำมาใช้ในระบบเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต (Ethernet LAN)
สายคู่พันเกลียว มี 2 ประเภท คือ
                1.  สายคู่พันเกลียวแบบไม่มีสิ่งห่อหุ้ม (Unshielded Twisted Pair – UTP)
                    สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่
    คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้น ซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างไปและตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (PlasticCover)ซึ่งการตีเกลียวลักษณะนี้จะช่วยให้มันมีคุณสมบัติในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น จากเครื่องถ่ายเอกสารที่อยู่ใกล้ๆ เป็นต้น ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย แสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 UTP (Unshielded Twisted Pair)
ข้อดีของ UTP
                -  ราคาถูก
                -  ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
                -  มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสียของ UTP
                - ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย (สายควรยาวน้อยกว่า 100 ฟุต)
                2. สายคู่พันเกลียวแบบมีสิ่งห่อหุ้ม (Shielded Twisted pair – STP)
                   สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนต่างๆ ภาษาเทคนิคเรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) ทำให้มีอิมพีแดนซ์ 150 โอห์ม และเป็นสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมากขึ้น
                    คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่น ทอนครอสทอร์ก และ         อิมพีแดนซ์ (150 โอห์ม) แต่สาย STP จะใช้ในกรณีที่เชื่อมต่อเป็นระยะทางไกลเกินกว่าระยะทางที่จะใช้สาย UTP แสดงดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 สายคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair)
ข้อดีของ STP
                -  ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
                -  ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
                -  เดินได้ไกลกว่า UTP
ข้อเสียของ STP
                -  มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
                -  ราคาแพงกว่าสาย UTP
สายโคแอกเซียล ( Coaxial Cable)
                        เรียกสั้น ๆ ว่า "สายโคแอก" เป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพดีกว่าและราคาแพงกว่าสายเกลียวคู่ สายโคแอกเป็นสายส่งที่มีการใช้งานกันมาก ไม่ว่าจะเป็นสายเชื่อมโยงระบบแลนบางชนิด สายเคเบิลทีวี หรือการส่งข้อมูลสัญญาณ        วีดิโอ  มีส่วนประกอบ 4 อย่าง  โดยที่มีศูนย์กลางเป็นลวดทองแดงที่ทำหน้าที่เห็นสื่อนำสัญญาณห่อหุ้มด้วยชั้นของฉนวนที่ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้าทำจากพลาสติกพีวีซี  ถัดจากชั้นของฉนวนจะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปกป้องสายนำสัญญาณ  โดยมีสักษณะเป็นโลหะ  ทองแดง  หรืออะลูมิเนียมถัดเป็นตะแกรง  ชั้นนี้จะปกป้องสัญญาณที่ทำการส่งจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่าสัญญาณรบกวน  หรือ  Noise  ซึ่งจะทำให้สัญญาณถูกบิดเบือน  และสุดท้าย  คือ  ชั้นนอกสุดเป็นสิ่งห่อหุ้มภายนอก  หรือแจ๊กเก็ตที่ทำจาก PVC หรือวัสดุที่ทนไฟอย่างเทฟลอน เป็นต้น
     สายโคเอ็กเชียล  เป็นสายชีลด์ที่หุ้มส่วนของตัวนำไว้  คุณลักษณะเด่นของสาวโคเอ็กเชียล คือ  มีภูมิต้านทานต่อสัญญาณรบกวนโดยเฉพาะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ดังนั้นสายโคเอ็กเชียลจึงเป็นสายที่เหมาะที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสัญญาณรบกวนมาก
                    สายโคเอ็กเชียล  เป็นสายที่นิยมใช้งานในระบบโทโปโลยีแบบบัส  เพราะการใช้โทโปโลยีแบบบัสทำให้ใช้จำนวนสายโคเอ็กเชียลน้อยกว่าแบบสตาร์  นอกจากนี้การใช้สายโคเอ็กเชียลยังทำให้ได้ระยะทางมากกว่า
                     สายโคเอ็กเชียล  มีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมายเช่นเดียวกับสายคู่พันเกลียว  แต่ในเรื่องของระบบเครือข่ายแล้ว  สายที่รู้จักกันดีที่สุดคือสายเคเบิลที่ใช้สำหรับระบบเครือข่าย  Thin Ethernet  และ  Thick Ethernet
                     -  Thin Ethernet  หรือเรียกว่า  ThinNet  ใช้สายโคเอ็กเชียลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3/8  นิ้ว  หรือที่เรียกว่าสาย  RG-58  ระบบสายเคเบิลของ  ThinNet  นี้สามารถนำสัญญาณไปได้ระยะทาง  185  เมตร  ก่อนที่สัญญาณจะค่อย ๆ  ลดคุณภาพลง
                    -  Thick Ethernet  หรือเรียกว่า  ThickNet  ใช้สายฌคเอ็กเชียลที่มีความสามารถในการโค้งงอได้น้อยกว่า  โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ½  นิ้ว  หรือเรียกว่าสาย  RG-8  สายเคเบิล  ThickNet  สามารถนำสัญญาณไปได้ไกลกว่าสายเคเบิล  ThinNet  คือ ประมาณ  500  เมตร
                ข้อแตกต่างระหว่าง Thin Ethernet  และ  Thick Ethernet
ตามหลัการนำสัญญาณ  สายที่ใหญ่กว่าย่อมนำสัญญาณได้ดีกว่าทั้งทางด้านคุณภาพของสัญญาณและการส่งที่สามารถส่งได้ไกลกว่า  แต่  ThickNet  มีการติดตั้งที่ยุ่งยากเนื่องจากเป็นสายทีแข็งโค้งงอได้น้อยและมีราคาแพงทำให้เป็นที่นิยม  และในขณะที่  ThinNet  มีความยีอหยุ่นกว่าทำให้ง่ายในน็็ฯ็็้สีนนษษสการติดตั้ง  และที่สำคัญราคาถูกกว่ามาก
                หัวเชื่อมต่อ (Connector)  ทั้งสายแบบ ThinNet และ  ThickNet  จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน  ซึ่งเรียกว่า  BNC  โดยมีหลายหลากรูปแบบ ต่อไปนี้
    -   หัวเชื่อมสาย  BNC (BNC Cable Connector)  เป็นหัวที่ใช้เชื่อมปลายสาย
     -  หัวเชื่อมสายรูปตัว T (BNC T-connector)  เป็นหัวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสายกับ
เน็ตเวิร์คการ์ด
     -   หัวเชื่อมสายแบบ  Barrel (BNC Barrel Connector)  เป็นหัวที่ใช้เชื่อมต่อให้สายมีความ
ยาวเพิ่มขึ้น
     -   ตัวสิ้นสุดสัญญาณ  (BNC Terminator)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตัดสัญญาณที่เดินทางมาจน
สุดสายแล้วไม่ให้สะท้อนกลับไปรบกวนสัญญาณอื่น ๆ  นิยมใช้กับโทโปโลยีแบบบัส
                                          รูปที่ 3 สายโคแอกเชียล
สายใยแก้วนำแสง (Fiber optic cable)                 คือ เส้นใยโปร่งแสงทรงกระบอกขนาดเล็กตัน โดยทั่วไปวัสดุที่ใช้ทำเส้นใยแก้วนำแสงมักเป็นสารประกอบประเภท ซิลิกา หรือ ซิลิกอนไดออกไซด์ ( SIO2 ) ซึ่งก็คือ แก้วบริสุทธิ์นั่นเอง
                ในอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สำนักงาน อาคารอุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้สายสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงระบบสื่อสาร แต่เดิมสายสัญญาณที่นำมาใช้ได้แก่สายตัวนำทองแดง
                ปัจจุบันสายสัญญาณระบบสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีแนวโน้มที่จะรวมระบบสื่อสารอย่างอื่นประกอบเข้ามาในระบบด้วย เช่น ระบบเคเบิลทีวี ระบบโทรศัพท์ ระบบการบริการข้อมูลข่าวสารเฉพาะของบริษัทผู้ให้บริการต่าง ๆ ความจำเป็นในลักษณะนี้จึงมีผู้ตั้งคำถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะให้อาคารที่สร้างใหม่มีระบบเครือข่ายสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้วนำแสง
                หากพิจารณาให้ดีพบว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว ปัจจุบันราคาของเส้นใยแก้วนำแสงที่เดินในอาคารมีราคาใกล้เคียงกับสายยูทีพีแบบเกรดที่ดี เช่น แคต 5 ขณะเดี่ยวกันสายเส้นใยแก้วนำแสงให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่ามากและรองรับการใช้งานในอนาคตได้มากกว่า
                สายยูทีพีแบบแคต
5 รองรับความเร็วสัญญาณได้ 100 เมกะบิตต่อวินาที และมีข้อจำกัดในเรื่องความยาวเพียง 100 เมตร ขณะที่เส้นใยแก้วนำแสงรองรับความถี่สัญญาณได้หลายร้อยเมกะเฮิรตซ์ และยังใช้ได้กับความยาวถึง 2000 เมตร การพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ของเส้นใยแก้วนำแสงได้ก้าวมาถึงจุดที่จะนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางแล้ว
                                                                    รูปที่ 4 สายใยแก้วนำแสง

ข้อดี ข้อเสีย ของเส้นใยแก้วนำแสง
               จุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงมีหลายประการ โดยเฉพาะจุดที่ได้เปรียบสายตัวนำทองแดง ที่จะนำมาใช้แทนตัวนำทองแดง จุดเด่นเหล่านี้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งประกอบด้วย  
                ข้อดี
                - ความสามารถในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร
                         เส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้วขนเหล็ก มีการโค้งงอได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมากคือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้เป็นสายที่นำมาใช้ภายในอาคารทั่วไป เมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850     นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร แล้วถ้าใช้ความยาวคลื่น 1300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า 500 นาโนเมตร ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าลดความยาวเหลือ 100 เมตร จะใช้กับความถี่สัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ ดังนั้นจึงดีกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 ที่ใช้กับสัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์
                     
- กำลังสูญเสียต่ำ
                         เส้นใยแก้วนำแสงมีคุณสมบัติในเชิงการให้แสงวิ่งผ่านได้ การบั่นทอนแสงมีค่าค่อนค่างต่ำ ตามมาตรฐานของเส้นใยแก้วนำแสง การใช้เส้นสัญญาณนำแสงนี้ใช้ได้ยาวถึง 2000 เมตร หากระยะทางเกินกว่า 2000 เมตร ต้องใช้   รีพีตเตอร์ทุก ๆ 2000 เมตร การสูญเสียในเรื่องสัญญาณจึงต่ำกว่าสายตัวนำทองแดงมาก ที่สายตัวนำทองแดงมีข้อกำหนดระยะทางเพียง 100 เมตร
                          หากพิจารณาในแง่ความถี่ที่ใช้ ผลตอบสนองทางความถึ่มีผลต่อกำลังสูญเสีย โดยเฉพาะในลวดตัวนำทองแดง เมื่อใช้เป็นสายสัญญาณ คุณสมบัติของสายตัวนำทองแดงจะเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้ความถี่ต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อใช้ความถึ่ของสัญญาณที่ส่งในตัวนำทองแดงสูงขึ้น อัตราการสูญเสียก็จะมากตามแต่กรณีของเส้นใยแก้วนำแสงเราใช้สัญญาณความถี่มอดูเลตไปกับแสง การเปลี่ยนสัญญาณรับส่งข้อมูลจึงไม่มีผลกับกำลังสูญเสียทางแสง
                       
-  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้
                            ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาแบบทองแดงคือการเหนี่ยวนำโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัญหานี้มีมาก ตั้งแต่เรื่องการรบกวนระหว่างตัวนำหรือเรียกว่าครอสทอร์ค การำม่แมตซ์พอดีทางอิมพีแดนซ์ ทำให้มีคลื่นสะท้อนกลับ การรบกวนจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า EMI ปัญหเหล่านี้สร้างให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแล
                             แต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงแล้วปัญหาเรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะและไม่ถูกรบกวนของแสงจากภายนอก
                       
-  น้ำหนักเบา
                            เส้นใยแก้วนำแสงมีน้ำหนักเบากว่าเส้นลวดตัวนำทองแดง น้ำหนักของเส้นใยแก้วนำแสงขนาด 2 แกน  ที่ใช้ทั่วไปมีน้ำหนักเพียงประมาณ 20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของสายยูทีพีแบบแคต 5
                        -  ขนาดเล็ก 
                            เส้นใยแก้วนำแสงมีขนาดทางภาคตัดขวางแล้วเล็กกว่าลวดทองแดงมาก ขนาดของเส้นใยแก้วนำแสงเมื่อรวมวัสดุหุ้มแล้วมีขนาดเล็กกว่าสายยูทีพี โดยขนาดของสายใยแก้วนี้ใช้พื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของเส้นลวดยูทีพีแบบแคต
                       
-  มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลสูงกว่า
                            การใช้เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะใช้แสงเดินทางในข่าย จึงยากที่จะทำการแท๊ปหรือทำการตัดฟังข้อมูล
                       
-  มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
 
                           การที่เส้นใยแก้วเป็นฉนวนทั้งหมด จึงไม่นำกระแสไฟฟ้า การลัดวงจร การเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจึงไม่เกิดขึ้น
                        -  ความเข้าใจผิดบางประการ
                           
แต่เดิมเส้นใยแก้วนำแสงมีใช้เฉพาะในโครงการใหญ่ หรือใช้เป็นเครือข่ายแบบแบ็กโบน เทคโนโลยีเกี่ยวกับเส้นใยแก้วนำแสงก็ยังไม่เป็นที่เปิดเผยมากนัก ทำให้เกิดความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและการประยุกต์ใช้งาน
                          -  แตกหักได้ง่าย

                             
ด้วยความคิดที่ว่า "แก้วแตกหังได้ง่าย" ความคิดนี้จึงเกิดขึ้นกับเส้นใยแก้วด้วย เพราะวัสดุที่ทำเป็นแก้ว ความเป็นจริงแล้วเส้นใยแก้วมีความแข็งแรงและทนทานสูงมาก การออกแบบใยแก้วมีเส้นใยห้อมล้อมไว้ ทำให้ทนแรงกระแทก นอกจากนี้แรงดึงในเส้นใยแก้วยังมีความทนทานสูงกว่าสายยูทพี หากเปรียบเทียบเส้นใยแก้วกับสายยูทีพีแล้วจะพบว่า ข้อกำหนดของสายยูทีพีคุณสมบัติหลายอย่างต่ำกว่าเส้นใยแก้ว เช่น การดึงสาย การหักเลี้ยวเพราะลักษณะคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ความถี่สูงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า
                           -  เส้นใยแก้วนำแสงมีราคาแพง

               
               แนวโน้มทางด้านราคามีการเปลี่ยนแปลงราคาของเส้นใยแก้วนำแสงลดลง จนในขณะนี้ยังแพงกว่าสายยูททีพีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนักนอกจากนี้หลายคนยังเข้าใจว่า การติดตั้งเส้นใยแก้วนำแสงมีข้อยุ่งยาก และต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญ เสียค่าติตั้งแพง ความคิดนี้ก็คงไม่จริง เพราะการติดตั้งทำได้ไม่ยากนักเนื่องจากมีเครื่องมือพิเศษช่วยได้มาก เครื่องมือพิเศษนี้สามารถเข้าหัวสายได้โดยง่ายกว่าแต่เดิมมาก อีกทั้งราคาเครื่องมือก็ถูกลงจนมีผู้รับติดตั้งได้ทั่วไป
                             -  เส้นใยแก้วนำแสงยังไม่สามารถใช้กับเครื่องที่ตั้งโต๊ะได้

                                
ปัจจุบันพีซีที่ใช้ส่วนใหญ่ต่อกับแลนแบบอีเธอร์เน็ต ซึ่งได้ความเร็ว 10 เมกะบิต การเชื่อมต่อกับแลนมีหลายมาตรฐาน โดยเฉพาะปัจจุบันหากใช้ความเร็วเกินกว่า 100 เมกะบิต สายยูทีพีรองรับไม่ได้ เช่น เอทีเอ็ม 155        เมกะบิต แนวโน้มของการใช้งานระบบเครือข่ายมีทางที่ต้องใช้แถบกว้างสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องการให้พีซีเป็นมัลติมีเดียเพื่อแสดงผลเป็นภาพวิดีโอ การใช้เส้นใยแก้วนำแสงดูจะเป็นทางออก พัฒนการของการ์ดก็ได้พัฒนาไปมากเอทีเอ็มการ์ดใช้ความเร็ว 155 เมกะบิต ย่อมต้องใช้เส้นใยแก้วนำแสงรองรับ การใช้เส้นใยแก้นำแสงยังสามารถใช้ในการส่งรับวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือสัญญาณประกอบอื่น ๆ ได้ดี

************************************************

 
2. หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย (LAN Topology)                         แบบใดเพราะอะไร

เลือกระบบเครือข่ายแบบโทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ     ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
 
 
ข้อดี
      - ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
     - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
      - คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
     - ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
      - ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น